วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่13

วันที่16 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่13)
บันทึกจากการเรียน
สรุปวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ของศศิพรรณ สําแดงเดช


ความมุ่งหมายของการวิจัย
         1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพนฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
         2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐาน
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง

ครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
        1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
          2. แบบทดสอบวดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมั่น

ความสําคญของการวิจัย
       ผลของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยไดตระหนัก และเข้าใจถึงความสําคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยดวยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
        1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01 
        2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสารอยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี


         ดังนั้นการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานและทําแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งเด็กได้นําทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนก และทักษะการสื่อสารจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรเป็นทักษะพื้นฐานที่สําคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้เป็นอย่างดี จึงมีความจําเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริตั้งแต่ในระดับปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อสนองการเรียนรู้ของเด็กให้เต็มศักยภาพและประสบผลสําเร็จได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่12

วันที่9 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่12)
บันทึกจากการเรียน
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
อาจารย์สอนชดเชยในวันที่15 กันยายยน 2556 
สรุปบทความ





บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่11

วันที่2 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่11)
บันทึกจากการเรียน


อาจารย์ให้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์สื่อเข้ามุม
กลุ่มดิฉันจัดเรื่องของแสง ชื่อสื่อ กล่องนำแสง



                            อุปกรณ์
                            1. กล่องกระดาาลัง
                            2. กระดาษสี, เทปใส
                            3. ลูกโป่ง,กาวสองหน้า,กรรไกรม,คัตเตอร์

                          วิธีทำ
                          1. ห่อกระดาษเเล้วเจาะรูกระดาษให้ได้ขนาด 3-4 นิ้ว
                          2. เจาะรูข้างกล่องเพื่อให้เเสงผ่านเข้าไปได้
                          3. เจาะด้านล่างกล่องเพื่อนำลูกโป่งเข้าไป
                          4. ตกแต่งกล่องให้สวยงาม


               หลักการเเละเหตูผล
                      แสงเดินทางมาจากแหล่งกำเนิดของเเสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้น



กลุ่มดิฉันนำเสนองานประดิษฐ์สื่อเข้ามุม