วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่13

วันที่16 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่13)
บันทึกจากการเรียน
สรุปวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ของศศิพรรณ สําแดงเดช


ความมุ่งหมายของการวิจัย
         1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพนฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
         2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐาน
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง

ครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
        1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
          2. แบบทดสอบวดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมั่น

ความสําคญของการวิจัย
       ผลของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยไดตระหนัก และเข้าใจถึงความสําคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยดวยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
        1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01 
        2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสารอยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี


         ดังนั้นการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานและทําแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งเด็กได้นําทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนก และทักษะการสื่อสารจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรเป็นทักษะพื้นฐานที่สําคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้เป็นอย่างดี จึงมีความจําเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริตั้งแต่ในระดับปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อสนองการเรียนรู้ของเด็กให้เต็มศักยภาพและประสบผลสําเร็จได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่12

วันที่9 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่12)
บันทึกจากการเรียน
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
อาจารย์สอนชดเชยในวันที่15 กันยายยน 2556 
สรุปบทความ





บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่11

วันที่2 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่11)
บันทึกจากการเรียน


อาจารย์ให้นำเสนอสิ่งประดิษฐ์สื่อเข้ามุม
กลุ่มดิฉันจัดเรื่องของแสง ชื่อสื่อ กล่องนำแสง



                            อุปกรณ์
                            1. กล่องกระดาาลัง
                            2. กระดาษสี, เทปใส
                            3. ลูกโป่ง,กาวสองหน้า,กรรไกรม,คัตเตอร์

                          วิธีทำ
                          1. ห่อกระดาษเเล้วเจาะรูกระดาษให้ได้ขนาด 3-4 นิ้ว
                          2. เจาะรูข้างกล่องเพื่อให้เเสงผ่านเข้าไปได้
                          3. เจาะด้านล่างกล่องเพื่อนำลูกโป่งเข้าไป
                          4. ตกแต่งกล่องให้สวยงาม


               หลักการเเละเหตูผล
                      แสงเดินทางมาจากแหล่งกำเนิดของเเสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้น



กลุ่มดิฉันนำเสนองานประดิษฐ์สื่อเข้ามุม





บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่10

วันที่19 สิงหาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่10)
บันทึกจากการเรียน
อาจารย์ให้นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์
กลุ่มดิฉันนำทำเรื่อง

 เป่าลูกโป่งในขวด

อุปกรณ์ ขวดน้ำอัดลม , ลูกโป่ง

วิธีการทดลอง

     1)นำขวดน้ำอัดลมวางไว้บนโต๊ะ ใบที่ 1 ไม่เจาะรู ใบที่ 2 เจาะรู 
     2)นำลูกโป่งใส่ลงไปในขวด ขวดใบที่ 1 และ ใบที่ 2 จากนั้นรัดลูกโป่งไว้ที่ปากขวด 
     3) เป่าลูกโป่งที่อยู่ในขวดใบที่1 และใบที่2 และสังเกตการเปลื่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้น


การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ 
            เมื่อนำลูกโป่งรัดปากขวดไว้ แล้วเป่าลูกโป่ง ลูกโป่งจะพอง เนื่องจากอากาศที่มีอยู่ในขวดจะดันลูกโป่งไว้ จึงทำให้ลูกโป่งไม่พองในขวดเมื่อเราทำการเป่า ส่วนขวดที่เจาะรูไว้ แล้วทำการเป่า ลูกโป่งจะพองในขวด เนื่องจากอากาศที่เราเป่าเข้าไปในลูกโป่งจะดันอากาศที่อยู่ในขวดออกไปทางรูที่เจาะไว้ สามารถนำความรู้เรื่องความดันอากาศมาผลิตเป็นสิ่งของเครื่องใช้มากมาย เช่น ที่แขวนตุ๊กตาติดกระจก หลอดดูดน้ำ ปืนอัดลม เป็นต้น





บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่9

วันที่12 สิงหาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่9)
บันทึกจากการเรียน
 ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดวันแม่

วันแม่แห่งชาติ 2556 กลอนวันแม่
ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ




12 สิงหาของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติไทย
ความหมายของคำว่า "แม่"

       คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้

แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
       1.แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้




พระคุณแม่ยิ่งใหญ่หาใดเทียบมิอาจเปรียบแม้ภูผาชลาสินธุ์
น้ำนมที่กลั่นให้ลูกได้ดื่มกินลูกถวิลถึงคุณค่าว่าอนันต์


ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย 

วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10มีนาคม พ.ศ. 2486ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2493แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่

การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ



ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่
ดอกมะลิดอกไม้ประจำวันแม่




มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก กรุ่นกลิ่น “รัก” บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ เป็นมาลัย “กราบแม่” พร้อมน้อมบูชา


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่8


วันที่5 สิงหาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่8)
บันทึกจากการเรียน


            ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ให้ไปเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ



บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่7

วันที่29 กรกฎาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่7)
บันทึกการเรียน

อาจารย์ชดเชยการเรียนการสอนโดยให้เข้าอบรมประดิษฐ์สื่อ
การประดิษฐ์ภาพนูน



การประดิษฐ์ภาพเคลื่อนไหว

การผลิตสื่อ POP UP แบบเคลื่อนไหว โดยคุณครูรจนา ปักษี และคุณครูพาณุลักษณ์ ปฎิทัศน์


การผลิตสื่อ POP UP แบบเคลื่อนไหว โดยคุณครูรจนา ปักษี และคุณครูพาณุลักษณ์ ปฎิทัศน์


     อุปกรณ์ที่ทำก็จะมี กระดาษร้อยปอนด์ ดินสอ ยางลบ คัตเตอร์ กรรไกร ปากกาตัดเส้น เชือกเอ็น ไม้บรรทัด กาว ดินสอสี กระดาษแข็ง


      เริ่มแรกเราก็เลือกลายที่เราต้องการทำ แล้วนำตัวที่เราเลือกมาทำการลอกลายเพื่อลอกแบบ จากนั้นเราจะได้กระดาษที่ลอกแบบ 2 ชิ้นจะได้กระดาษที่เป็นส่วนตัวและหัวอีกหนึ่งชิ้น


        จากนั้นเราก็นำมาระบายสีให้สวยงาม แล้วจากนั้นก็ใช้ปากกาตัดเส้นให้ดูชัดยิ่งขึ้น


         ต่อมาเราก็เอาหัวไปติดกับส่วนตัวโดยใช้เชือกเอ็นร้อยยึดติดกับตัว แล้วก็นำแกนกระดาษมายืดติดที่บริเวณจมูกของสัตว์เพื่อที่เราจะได้มีที่จับในการทำให้หัวของสัตว์เคลื่อนไหนได้

ผลลัพธ์ที่เราทำก็ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ



บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่6

วันที่22 กรกฎาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่6)
บันทึกการเรียน


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันอาสาฬหบูชา



วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่5

วันที่15 กรกฎาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่5)
บันทึกการเรียน

       นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ บูมเมอเเรงกระดาษ


                               อุปกรณ์มีดังนี้
                                               - เทปใส
                                               - กรรไกร
                                               - กระดาษ
                                               - ปากกา ,ไม้บรรทัด


                                            วิธีการทำ


1) ตัดกระดาาให้ได้ขนาด 3-4นิ้วให้เท่าๆกันดังรูป


              2) นำกระดาษที่ตัดมาวางติดกันเป็นมุมฉากแล้วติดเทปใสบริเวณรอยต่อทั้งสองข้างของกระดาษ 





วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่4

วันที่8 กรกฎาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่4)
บันทึกการเรียน



                             อาจารย์ให้ดูคลิปวีดีโอ เรื่องอากาศมหัศจรรย์

ภาพวาดต่อเนื่อง


ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)



Dr. John Ayrton Paris

                    หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้
            อ้างอิงจาก (http://www.sciencephoto.com/media/127523/enlarge)


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่3

วันที่1 กรกฎาคม พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่3)
บันทึกการเรียน




อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เรื่องความลับของเเสง






วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่2

วันที่24 มิถุนายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่2)
บันทึกการเรียน

               ความหมายของวิทยาศาสตร์
                      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ”   
                  
                         Dr Arther Acarin วิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้ผ่านการทดสอบยืนยันมาเเล้ว และได้สะสมไว้อย่างมีระบบ
             โดยสรุป “วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริงโดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัดความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่”

                 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
                 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่างๆ เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่นๆ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน และที่สำคัญยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานาประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

                                                    อาจารย์ให้ดูวีดีโอเรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ