วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน สัปดาห์ที่13

วันที่16 กันยายน พ.ศ.2556 (สัปดาห์ที่13)
บันทึกจากการเรียน
สรุปวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ของศศิพรรณ สําแดงเดช


ความมุ่งหมายของการวิจัย
         1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพนฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
         2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐาน
        เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง

ครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
        1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
          2. แบบทดสอบวดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มีความเชื่อมั่น

ความสําคญของการวิจัย
       ผลของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยไดตระหนัก และเข้าใจถึงความสําคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยดวยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
        1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่า
ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01 
        2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้านคือ ด้านการสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสารอยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี


         ดังนั้นการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการสังเกตขณะเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานและทําแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งเด็กได้นําทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต ทักษะการจําแนก และทักษะการสื่อสารจึงส่งผลให้เด็กได้รับการพฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรเป็นทักษะพื้นฐานที่สําคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้เป็นอย่างดี จึงมีความจําเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริตั้งแต่ในระดับปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อสนองการเรียนรู้ของเด็กให้เต็มศักยภาพและประสบผลสําเร็จได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น